บริจาค

เห็นว่า..บล็อกนี้ดี มีประโยชน์... โปรดสนับสนุนผู้ทำบล็อกได้ที่ พร้อมเพย์ 083-4616989
หรือบัญชี 002-1-70462-8 กสิกรไทย สาขาบางลำภู

เป็นกลางกันอย่างไร


พระมหาบุญไทย  ปุญญมโน ใน "ไซเบอร์วนารามเน็ต เว็บไซต์เพื่อพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรม” ได้นำบทความของ ดร. สมบูรณ์ วัฒนะ มาลงในเว็บของท่าน

ต้นฉบับเดิมขอให้ไปอ่านที่ บทความที่ชื่อว่า “สิ่งสัมบูรณ์:นิพพาน เต๋า โมกษะ แบบ” เมื่อนำบทความของผู้อื่นมาลงในเว็บของตนเอง พระมหาบุญไทยจึงได้เขียนเกริ่นนำขึ้น ดังนี้

ผู้ที่ศึกษามาทางด้านปรัชญาย่อมจะเข้าใจภาษาทางปรัชญาเช่น "สิ่งสัมบูรณ์" "มโนทัศน์" ทฤษฎีแบบเป็นต้น

ผู้ที่ศึกษามาทางศาสนาก็ย่อมจะเคยได้ยินคำว่า นิพพานเต๋า” “โมกษะ

ส่วนผู้ที่ศึกษามาทางอื่นอาจจะเคยได้ยินแต่ไม่เข้าใจ เพราะภาษาทางด้านปรัชญาและศาสนาเป็นศัพท์เฉพาะที่ใช้เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง

ศาสนาและปรัชญาแม้จะอยู่ในขอบข่ายสาขาวิชาที่ใกล้เคียงกัน แต่ทว่าความหมายของคำบางคำก็มีวิธีการอธิบายที่ต่างกัน

นักปรัชญาอาจจะไม่ได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนเองอธิบายเลยก็ได้ ในขณะที่นักการศาสนาต้องปฏิบัติตามสิ่งที่ตนค้นพบ วิถีของนักปรัชญาและนักศาสนาจึงเริ่มต้นต่างกัน

ดร. สมบูรณ์ วัฒนะ ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยท่านหนึ่ง แต่ไปจบปริญญาเอกทางด้านปรัชญาที่มหาวิทยาลัยปัญจาป อินเดีย

ดินแดนแห่งผู้สนใจในด้านศาสนาและปรัชญาโดยตรง ได้อธิบายและตีความตามทัศนะทางปรัชญา

เห็นว่าน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ศึกษาจึงขออนุญาตนำเผยแพร่ โปรดอ่านด้วยใจที่เป็นกลาง

ในการย้ายที่อยู่ของบล็อกครั้งล่าสุด คือ วันนี้ (8 พฤษภาคม 2555) ผมได้เข้าไปอ่านบทความนี้ใหม่อีกครั้งหนึ่ง เพื่อตรวจสอบที่อยู่ของ url ว่ายังอยู่เหมือนเดิมหรือไม่ 

พบว่า มีการปรับปรุงบทความนี้ใหม่ 

ผมยังไม่ได้อ่านโดยละเอียด เพราะ ไม่มีเวลา จึงจะวิพากษ์วิจารณ์บทความเดิมไปก่อน

ต่อไปข้างหน้าถ้ามีเวลาเหลือ ผมอาจจะมาอ่านบทความใหม่อีกครั้งหนึ่ง และก็จะวิพากษ์วิจารณ์เพื่อให้เป็นความรู้ต่อไปอีกครั้งหนึ่ง

การวิพากษ์วิจารณ์ด้านล่างนี้ จึงเป็นของเก่าที่นำมาลงที่อยู่ใหม่ เพื่อให้เหมาะสมกับการจัดโครงสร้างของบล็อก

ข้อวิพากษ์วิจารณ์

ผมขอวิพากษ์วิจารณ์ขั้นเป็นตอนๆ ไปเลย เพราะ เนื้อความยาวพอสมควร ถ้ายกตัวอย่างไปก่อน วิพากษ์วิจารณ์ทีหลัง

ท่านผู้อ่านอาจจะรำคาญใจ เพราะ ต้องเลื่อนขึ้นเลื่อนลงอยู่เรื่อย

ประการแรกเลย ข้อเน้นประโยคสุดท้ายและข้อความสุดท้าย ที่พระมหาบุญไทย ขอให้ท่านผู้อ่าน อ่านบทความของท่านด้วยความเป็นกลาง

แต่ผมสงสัยว่า "ความเป็นกลาง" ของพระมหาบุญไทยมีหรือไม่?? 

บทความของ ดร. สมบูรณ์เสนอแนวคิดที่พระมหาบุญไทย "ชอบ" พระมหาบุญไทยจึงนำมาเผยแพร่ต่อใช่หรือไม่??

พระมหาบุญไทยไม่เชื่อว่า นรก-สวรรค์มีจริง เพราะ ไปเชื่อปรัชญาตะวันตก เมื่อเห็นบทความที่สนับสนุนความเชื่อของท่าน 

ท่านจึงเอามาลงไว้ ใช่หรือเปล่า!!

เมื่อท่าน "ไม่มีความเป็นกลาง" แล้วจะเรียกร้องหา "ความเป็นกลาง" ไปทำไม?

ในส่วนของที่เป็นข้อเขียนของ ดร. สมบูรณ์  ดร. สมบูรณ์เขียนบทนำไว้ดังนี้

ในบทความนี้จะกล่าวถึงแนวคิดเรื่องสิ่งสัมบูรณ์ในศาสนาพุทธ ปรัชญาของเล่าจื้อ ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และปรัชญาของเพลโต (Plato)

จุดมุ่งหมายเพื่อเข้าใจความหมายของสิ่งสูงสุดและวิธีการปฏิบัติเพื่อบรรลุสิ่งสูงสุดนั้นตามทรรศนะของศาสนาและปรัชญาเหล่านี้

พร้อมกับแสดงให้เห็นถึงคุณประโยชน์ที่คาดว่าจะได้จากการศึกษาสิ่งสัมบูรณ์ตามทัศนะของศาสนาและปรัชญาเหล่านี้ ในชีวิตประจำวันของมนุษย์

นิพพาน เป็นชื่อของสิ่งสัมบูรณ์ในพุทธศาสนา

เต๋า เป็นชื่อของสิ่งสัมบูรณ์ในปรัชญาของเล่าจื้อ

โมกษะ เป็นชื่อของสิ่งสัมบูรณ์ในศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และ

แบบ (Form) หรือ มโนคติ (Idea) เป็นชื่อของสิ่งสัมบูรณ์ในปรัชญาของเพลโต (Plato)

ข้อเขียนของ ดร. สมบูรณ์ วัฒนะชิ้นนี้ ผมจะนำมาวิพากษ์วิจารณ์ เฉพาะที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับนิพพานของศาสนาพุทธ

เรื่องสิ่งสมบูรณ์อื่นๆ ไม่นำมาวิเคราะห์ด้วย เพราะ ไม่เห็นประโยชน์อะไร

สำหรับเหตุผลนั้น  ผมเชื่อว่า การที่เราเกิดมาอยู่ในศาสนาพุทธเถรวาทนั้น ถือว่ามีบุญมีบารมีมากพอสมควร

ศาสนาพุทธเถรวาทของเรานั้น คำสอนถูกต้องตรงตามที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ สามารถปฏิบัติตามได้ 

ท่านผู้อ่านที่คิดจะเอาตัวรอดจากวัตตะสงสาร อ่านแค่ศาสนาพุทธเถรวาทก็เพียงพอแล้ว

นอกจากนั้น ยังจะขอยืนยันเพิ่มอีกว่า ถ้าไม่มีเวลามากนัก

อ่านแค่เอกสารและหนังสือของวิชาธรรมกายก็เพียงพอต่อการเอาตัวรอดในชาตินี้ได้แล้ว

สำหรับ “สิ่งสมบูรณ์” ของศาสนาอื่น หรือของสาขาวิชาอื่นๆ ให้ท่านที่ชมชอบปรัชญาอ่านกันไปเถิด  เพราะ มันไม่เกิดวาสนาบุญบารมีแต่ประการใด

มีแต่การชักนำไปให้ลงอบายภูมิเท่านั้น

สำหรับตัวผมเองก็ต้องอ่าน เพื่อให้เข้าใจ เพราะ ร่ำเรียนมาประการหนึ่ง อ่านมามากแล้ว จะทิ้งไปก็เสียดาย และประการสำคัญก็คือ เพื่อที่จะนำมาวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป...




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น